รหัส SUS คืออะไร?
SUS ย่อมาจาก Steel Use Stainless โดยจะมีตัวเลขต่อท้ายเพื่อระบุประเภทและเกรดของสแตนเลสในตระกูลต่าง ๆ นอกจากนี้ หากมีการผสมธาตุอื่นนอกเหนือจากโครเมียม นิกเกิล และคาร์บอน เช่น การผสมธาตุทองแดง ก็จะมีการระบุไว้ท้ายรหัส เช่น SUS304Cu หรือหากมีตัวอักษร L ต่อท้าย จะหมายถึงการลดปริมาณคาร์บอนลง ทำให้มีความสามารถในการทนการกัดกร่อนได้ดีกว่า เช่น SUS301 กับ SUS301L
รหัส SUS และคุณสมบัติ
SUS304
- คุณสมบัติ: ทนต่อการเกิดสนิมและการกัดกร่อนได้ดี เนื่องจากมีสารนิกเกิลผสมอยู่ทำให้แม่เหล็กดูดไม่ติด และมีคาร์บอนต่ำ ทำให้มีความเหนียวสูง สามารถทนความร้อนได้ดี ส่วนใหญ่ใช้ในการขึ้นรูปต่าง ๆ เช่น ซิงค์ หรือภาชนะเครื่องครัว เป็นต้น
- ส่วนประกอบ:
- คาร์บอน (C): สูงสุด 0.08
- ซิลิกอน (Si): สูงสุด 1
- แมงกานีส (Mn): สูงสุด 2
- ฟอสฟอรัส (P): สูงสุด 0.045
- ซัลเฟอร์ (S): สูงสุด 0.03
- นิกเกิล (Ni): 8-10.5
- โครเมียม (Cr): 18-20
SUS306
- คุณสมบัติ: ใช้ทำตาข่ายลวดเหล็ก
SUS316
- คุณสมบัติ: ทนการกัดกร่อนได้ดีกว่า SUS304 โดยเฉพาะการกัดกร่อนจากสารคลอรีน จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมอาหาร
- ส่วนประกอบ:
- คาร์บอน (C): สูงสุด 0.08
- ซิลิกอน (Si): สูงสุด 1
- แมงกานีส (Mn): สูงสุด 2
- ฟอสฟอรัส (P): สูงสุด 0.045
- ซัลเฟอร์ (S): สูงสุด 0.03
- นิกเกิล (Ni): 10-14
- โครเมียม (Cr): 16-18
- โมลิบดีนัม (Mo): สูงสุด 2
SUS316L
- คุณสมบัติ: คล้ายกับ SUS316 แต่มีการลดคาร์บอนลงจาก 0.08 เหลือ 0.03 เพื่อเพิ่มความเหนียวและทนทานต่อการกัดกร่อน
การตัดด้วยเลเซอร์ใน SUS304
การใช้งานเครื่องตัดเลเซอร์มักนิยมใช้กับ SUS304 เนื่องจากมีความทนทานและป้องกันการเกิดสนิมได้ดี แต่ความหนาที่สามารถตัดได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องเลเซอร์ กำลังวัตต์ และการตั้งค่าสเปกของผู้ผลิต